วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563

ดาวเทียมดวงแรกของโลก


                 
         4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 สหภาพโซเวียต ส่ง สปุตนิก 1 (Sputnik 1) ดาวเทียมดวงแรกของโลก ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกด้วยจรวดอาร์-7 (R-7) จากศูนย์อวกาศไบร์โคนูร์ คอสโมโดรม ในประเทศคาซัคสถาน สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมในโครงการสปุตนิก (Sputnik Programe) สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมรูปร่างกลม มีเส้นผ้าศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร หนักประมาณ 83 กิโลกรัม มีเสารับ-ส่งสัญญาณอยู่ 2 เสา ภารกิจคือการสำรวจพื้นผิวของโลกและชั้นบรรยากาศ ปฏิบัติภารกิจบนอวกาศโดยโคจรอยู่ห่างจากพื้นผิวโลกประมาณ 250 กิโลเมตร ภารกิจมีระยะเวลา 3 เดือน เมื่อแบตเตอรีหมด ดาวเทียมจะเผาไหม้ตัวเองและชิ้นส่วนบางชิ้นตกลงมาบนผิวโลกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2501 สปุตนิก 1 นับเป็นความภูมิใจของชาวรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้นำแห่งวิทยาศาสตร์อวกาศ ในสมัยนั้นสหรัฐอเมริกายังมีเทคโนโลยีด้อยกว่า เมื่อสปุตนิกลอยบนฟากฟ้าก็ตกใจเพราะกลัวว่าดาวเทียมโซเวียตจะบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์มาถล่ม โครงการสปุตนิกนับเป็นการเริ่มต้นยุคแห่งการแข่งขันด้านอวกาศ ปัจจุบันได้มีการสร้างดาวเทียมสปุตนิกจำลองแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์อวกาศในประเทศรัสเซีย พิพิธภัณฑ์อวกาศแห่งสถาบันสมิธโซเนียน อเมริกา และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ กรุงลอนดอน อังกฤษ


วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ดาวเทียมไทยคม

ดาวเทียมไทยคม

ความเป็นมา
   ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทไทยคมจำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัทชินคอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ.2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
 ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ

          ปัจจุบันดาวเทียมไทยคมในประเทศไทยได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 8 ดวง 
ใช้ได้จริง 5 ดวง คือ


ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์)
         ดาวเทียมไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมประเภท High Throughput หรือ HTS ดวงแรกของโลก ประจำอยู่ที่วงโคจรตำแหน่ง 119.5 องศาตะวันออก ให้บริการเพื่อภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคโทรคมนาคม นำเสนอบริการบรอดแบนด์ความเร็วสูงผ่านดาวเทียมที่คุ้มค่าสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ดาวเทียมดวงนี้ประกอบด้วยระบบการส่งสัญาณ Ku-band spot beams แบบสองทาง สามารถให้บริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมไปยังพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนบริการ

ดาวเทียมไทยคม 5
           ดาวเทียมไทยคม 5 ตั้งอยู่ที่ตำแหน่งวงโคจรสำคัญคือ 78.5 องศาตะวันออก ให้บริการแบบ Regional Beams ด้วยระบบซีแบนด์และเคยูแบนด์กำลังสูง รองรับบริการด้านบรอดคาสต์และมีเดีย เพื่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถรองรับบริการ DTH และบริการสำหรับเคเบิลทีวีได้ นอกจากนั้นยังสามารถให้บริการแบบ Global Beam ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป รองรับผู้ใช้บริการในเอเชียใต้ ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกาได้อีกด้วย
ดาวเทียมไทยคม 6/ AFRICOM 1
          ดาวเทียมไทยคม 6 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรที่ตำแหน่งยอดนิยม 78.5 องศาตะวันออก ตำแหน่งเดียวกับดาวเทียมไทยคม 5 และไทยคม 8 ให้บริการด้วยระบบซีแบนด์และเคยูแบนด์กำลังสูง เพื่อรองรับบริการด้านบรอดคาสต์และดาต้า เช่น บริการ DTH บริการส่งช่องรายการผ่านดาวเทียม ตลอดจนบริการโครงข่ายผ่านดาวเทียมและบริการ IP Trunking มีพื้นที่บริการครอบคลุมพื้นที่ Sub-Saharan ในภูมิภาคแอฟริกาและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดาวเทียมไทยคม 7
            ดาวเทียมไทยคม 7 ประจำอยู่ที่วงโคจรตำแหน่ง 120 องศาตะวันออก ให้บริการด้วยระบบซีแบนด์ รองรับบริการบรอดคาสต์และดาต้า สามารถตอบสนองความต้องการด้านการสื่อสาร เพื่ออุตสาหกรรมบันเทิงและผู้ประกอบการโทรคมนาคม ในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย
ดาวเทียมไทยคม 8
              ดาวเทียมไทยคม 8 ประจำอยู่ที่วงโคจรตำแหน่งสำคัญ 78.5 องศาตะวันออก ร่วมกับดาวเทียมไทยคม 5 และไทยคม 6 มีจุดมุ่งหมายในการขยายพื้นที่ให้บริการเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตลาดในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกา ประกอบด้วยช่องสัญญาณระบบเคยูแบนด์จำนวน 24 ช่อง สามารถให้บริการด้านดาต้า มีเดีย และโทรคมนาคมได้อย่างเต็มรูปแบบ ตอบโจทย์ความต้องการสื่อสารโทรคมนาคมให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อสารมวลชน

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไทยคม

10เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับดาวเทียม
  



            ดาวเทียมสื่อสาร เป็นดาวเทียมที่มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม จะถูกส่งไปในช่วงของอวกาศเข้าสู่วงโคจรโดยมีความห่างจากพื้นโลกโดยประมาณ 35.786 กิโลเมตร ซึ่งความสูงในระดับนี้จะเป็นผลทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดาวเทียม ในขณะที่โลกหมุนก็จะส่งแรงเหวี่ยง ทำให้ดาวเทียมเกิดการโคจรรอบโลกตามการหมุนของโลก



อ้างอิง : สถาบันส่งเสิรมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ (2554).โลกดาราศาสตร์และอวกาศ.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร.องค์การค้าของ สกสค.
                         
                       https://www.youtube.com/watch?v=IxfqXmi4-NU